info.eqsco@gmail.com
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลการใช้งาน เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี หากคุณใช้งานเว็บไซต์ต่อ เราถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้ และนโยบายความเป็นส่วนตัว แต่ถ้าคุณไม่ต้องการให้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูล กรุณาคลิก รายละเอียดเพิ่มเติม
เมื่อท่านได้เข้าสู่เว็บไซต์ของเรา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็ปไซต์ของท่าน จะถูกเก็บเอาไว้ในรูปแบบของคุกกี้ โดยนโยบายคุกกี้นี้จะอธิบายถึงความหมาย การทำงาน วัตถุประสงค์รวมถึงการลบ และการปฏิเสธการเก็บคุกกี้ เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านโดยการเข้าสู่เว็บไซต์นี้ ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
คุกกี้ คือ ไฟล์เล็กๆเพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจะบันทึกลงไปในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ/หรือ เครื่องมือสื่อสารที่เข้าใช้งานของท่าน เช่น แท็บเล็ต, สมาร์ทโฟนผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ในขณะที่ท่านเข้าสู่เว็บไซต์ของเรา โดยคุกกี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ/หรือ เครื่องมือสื่อสารของท่านในกรณีดังต่อไปนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอาจถูกจัดเก็บ เพื่อใช้เพิ่มประสบการณ์การใช้งานบริการของเราทางออนไลน์ โดยจะจำเอกลักษณ์ของภาษา และปรับแต่งข้อมูลการใช้งานตามความต้องการของท่าน โดยการเก็บข้อมูลนี้ เพื่อเป็นการยืนยันคุณลักษณะเฉพาะตัว ข้อมูลความปลอดภัยของท่านรวมถึงสินค้า และบริการที่ท่านสนใจนอกจากนี้ คุกกี้ยังถูกใช้เพื่อวัดปริมาณการเข้าใช้งานบริการทางออนไลน์ การปรับเปลี่ยนเนื้อหาตามการใช้งานของท่านทั้งในก่อนหน้า และปัจจุบันหรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ และความพึงพอใจของท่าน โดยจะทำให้เราเข้าใจลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของท่านได้เร็ว และทำให้เว็บไซต์ของเราเข้าถึงได้ง่ายสะดวกยิ่งขึ้น บางกรณีเราจำเป็นต้องให้บุคคลที่สามดำเนินการ ซึ่งอาจจะต้องใช้อินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP Address) และคุกกี้เพื่อวิเคราะห์ทางสถิติ ตลอดจนเชื่อมโยงข้อมูล และประมวลผลตามวัตถุประสงค์ทางการตลาด
ประเภทของคุกกี้ | รายละเอียด | ตัวอย่าง |
---|---|---|
คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร | คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ประสบการณ์การใช้เว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างต่อเนื่องเช่น การจดจำการเข้าสู่ระบบ, การจดจำข้อมูลที่ท่านให้ไว้บนเว็บไซต์ |
|
คุกกี้ประเภทการวิเคราะห์ และวัดผลการทำงาน | คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เราสามารถวัดผลการทำงาน เช่นการประมวลจำนวนหน้าที่ท่านเข้าใช้งานจำนวนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้งานนั้นๆ โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้งาน |
|
คุกกี้เพื่อการโฆษณา | คุกกี้ประเภทนี้จะถูกบันทึกบนอุปกรณ์ของท่าน เพื่อเก็บข้อมูลการเข้าใช้งาน และลิงก์ที่ท่านได้เยี่ยมชม และติดตามนอกจากนี้คุกกี้จากบุคคลที่สาม อาจใช้ข้อมูลที่มีการส่งต่อข่าวสารในสื่อออนไลน์ และเนื้อหาที่จัดเก็บจากการให้บริการเพื่อเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการปรับแต่งเว็บไซต์แคมเปญโฆษณา ให้เหมาะสมกับความสนใจของท่าน |
|
คุกกี้ประเภทการทำงาน | คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยอำนวยความสะดวก เมื่อท่านกลับเข้ามาใช้งานเว็บไซต์อีกครั้ง โดยเราจะใช้ข้อมูลเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ตามลักษณะการใช้งานของท่าน |
|
ท่านสามารถลบ และปฏิเสธการเก็บคุกกี้ได้ โดยศึกษาตามวิธีการที่ระบุในแต่ละเว็บเบราว์เซอร์ที่ท่านใช้งานอยู่ตามลิงก์ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561)
นโยบายคุกกี้นี้อาจมีการปรับปรุงแก้ไขตามโอกาส เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ดังนั้นเราขอแนะนำให้ท่านตรวจสอบให้แน่ใจว่า ท่านได้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนดดังกล่าว
FSSC 22000 คือ ระบบรับรองระบบการจัดการความปลอดภัยทางอาหารสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
โดยอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานระบบต่างๆที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน นั่นคือ
- ISO 22000
- ISO/TS22002-X (ข้อกำหนดเฉพาะในแต่ละ Category) และ
- Aditional Requirements (ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับผู้ต้องการขอการรับรอง FSSC22000)
ตามมาตรฐานสากล FSSC 22000 ปัจจุบัน Version 5.1 เป็นระบบรับรองความปลอดภัยอาหารสำหรับผู้ผลิตอาหารที่ช่วย
ให้ระบุและควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหาร มาตรฐานนี้ยืนยันระบบความปลอดภัยของอาหาร แสดงให้เห็น
ว่ามีกระบวนการความปลอดภัยของอาหารที่เข้มงวดและความมุ่งมั่นของคุณต่อสุขอนามัยและสุขภาพของมนุษย์
Master plan for consultant and implementation Food Safety System Certification 2200
FSSC22000/ISO/TS22002-1 For Food ( FSSC22000 Version 5.1 )
Stage 1 - อบรมหลักสูตร ข้อกำหนดและการประยุกต์ใช้ระบบ FSSC22000/ISO/TS22002-1
Stage 2 - ให้คำแนะนำออกแบบพื้นที่ของกระบวนการและผลิตภัณฑ์ ประเมินความเสี่ยงในแต่ละกระบวนการ
ทำงานภายใต้ Risk base thinking เพื่อชี้บ่งหาความเสี่ยงและโอกาส ตามโครงสร้างบริบทขององค์กร
ในขอบข่ายการขอรับรองระบบ
- ให้คำปรึกษาในการสร้างวัตถุประสงค์คุณภาพและแผนงานตามความเสี่ยงและบริบทขององค์กร เพื่อให้
บรรลุโดยกำหนดตัวชี้วัด (KPI ) ที่ชัดเจนและวิธีการวัดผลสำเร็จของโครงการ
- ทบทวนเอกสารและให้คำแนะนำเอกสารมาตรการควบคุมและป้องกันการปนเปื้อนอันตรายตามหลักการGHPs
และที่ต้องจัดทำเพิ่มเติมให้สอดคล้องตาม PRPs (ISO/TS22002-1: FOOD)
- ให้คำแนะนำทบทวนขั้นตอนการผลิต ( process flow diagrame ) และ วิเคราะห์อันตราย เพื่อหาจุด OPRPs,
CCPs ตามหลักการตัดสินใจให้สอดคล้องกับ ISO22000/FSSC22000
- ให้คำแนะนำในการจัดทำแผนเฝ้าตรวจระวังที่จุด OPRPs & CCPs ที่เลือกแล้ว
- ให้คำแนะนำในการทำ Validation and Verification ทีขั้นตอน PRPs, OPRPs & CCPs.ให้คำแนะนำในการ
ออกแบบระบบงานและจัดเตรียมเอกสาร ที่เกี่ยวข้องและจำเป็น เช่น
- นโยบายและวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยอาหาร
- คู่มือคุณภาพ (Quality Manual)
- ระเบียบปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อสถานกาณ์ฉุกเฉิน
- เอกสารการประเมิน Food defense
- การทดสอบ Mock recall
Stage 3 - Implementation FSSC22000 by organization
Stage 4 - อบรมหลักสูตร การตรวจติดตามคุณภาพภายในระบบ FSSC22000/ISO/TS22002-1
- อบรมให้เป็นผู้ตรวจประเมิน (Auditor) พร้อมแต่งตั้งทีม Auditor เพื่อวางแผนในการตรวจประเมินระบบบริหาร
คุณภาพ โดยใช้เทคนิคการตรวจแบบเข้าถึงกระบวนการ (Process approach)
Stage 8 - ที่ปรึกษาเข้าร่วมดำเนินการตรวจติดตามภายในกับองค์กรเพื่อประเมินความสอดคล้องของระบบบริหารคุณภาพแนะนำ
แก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
- ให้คำแนะนำในการนำเอาเอกสารที่จัดทำไปปฏิบัติและทำการให้คำแนะนำในการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบในการตรวจ
ติดตามคุณภาพภายใน
Stage 9 - ดำเนินการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร(Management Review)
Stage10 - Pre audit โดยที่ปรึกษา เพื่อตรวจสอบภาพรวมของการทำระบบ และตรวจหาจุดบกพร่องของระบบที่ต้องปรับปรุง
ดำเนินการตรวจประเมินโดย C.B. ที่ท่านเลือก
ที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก้ไขข้อบกพร่องระหว่างและหลังการตรวจประเมินจากหน่วยงานรับรอง
มีการใช้โดยองค์กรต่าง ๆ ตลอดห่วงโซ่อาหารเพื่อช่วยเหลือในการส่งมอบอาหารที่ปลอดภัยต่อการบริโภค
มาตรฐาน ISO 22000: 2018 เป็นกรอบงานที่เป็นเลิศเพื่อช่วยในการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
ของอาหาร (FSMS) ปัจจุบันมาตรฐาน ISO 22000 กำลังปรับเปลี่ยนไปเป็นเวอร์ชั่นใหม่คือ
มาตรฐาน ISO 22000: 2018
วิธีการปลูก ขนส่ง ผลิต และรวมถึงการบริโภคอาหารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตั้งแต่มาตรฐานเดิมได้รับการ
เผยแพร่เมื่อทศวรรษที่แล้ว มาตรฐานใหม่นี้วิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และจุดมุ่งหมายในการช่วยองค์กร
ลดอันตรายด้านความปลอดภัยของอาหาร
นอกจากการทำมาตรฐาน ISO 22000 และผลจากระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร (FSMS) ได้ง่ายขึ้น
ในการบูรณาการกับระบบการจัดการมาตรฐาน ISO อื่น ๆ เวอร์ชั่นใหม่ของมาตรฐานนี้ยังแนะนำวงจรการบริหารงาน
คุณภาพ (PDCA) และแนวคิดแบบ Risk-based Thinking โดยการรวมวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) และ
แนวคิดแบบ Risk-based Thinking เข้าด้วยกันเพื่อจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจด้วย HACCP เพื่อระบุ ป้องกัน และ
ควบคุมอันตรายด้านความปลอดภัยของอาหาร มาตรฐาน ISO 22000 ช่วยองค์กรในการลดความเสี่ยงและปรับปรุง
ด้านความปลอดภัย
Master plan for consultant and implementation Food Safety System Certification 2200
ISO 22000: 2018
Stage 1 - อบรมหลักสูตร ข้อกำหนดและการประยุกต์ใช้ระบบ ISO 22000: 2018
Stage 2 - ให้คำแนะนำออกแบบพื้นที่ของกระบวนการและผลิตภัณฑ์ ประเมินความเสี่ยงในแต่ละกระบวนการ
ทำงานภายใต้ Risk base thinking เพื่อชี้บ่งหาความเสี่ยงและโอกาส ตามโครงสร้างบริบทขององค์กร
ในขอบข่ายการขอรับรองระบบ
- ให้คำปรึกษาในการสร้างวัตถุประสงค์คุณภาพและแผนงานตามความเสี่ยงและบริบทขององค์กร เพื่อให้
บรรลุโดยกำหนดตัวชี้วัด (KPI ) ที่ชัดเจนและวิธีการวัดผลสำเร็จของโครงการ
- ทบทวนเอกสารและให้คำแนะนำเอกสารมาตรการควบคุมและป้องกันการปนเปื้อนอันตรายตามหลักการGHPs
และที่ต้องจัดทำเพิ่มเติมให้สอดคล้องตาม PRPs (ISO/TS22002-1: FOOD)
- ให้คำแนะนำทบทวนขั้นตอนการผลิต ( process flow diagrame ) และ วิเคราะห์อันตราย เพื่อหาจุด OPRPs,
CCPs ตามหลักการตัดสินใจให้สอดคล้องกับ ISO22000/FSSC22000
- ให้คำแนะนำในการจัดทำแผนเฝ้าตรวจระวังที่จุด OPRPs & CCPs ที่เลือกแล้ว
- ให้คำแนะนำในการทำ Validation and Verification ทีขั้นตอน PRPs, OPRPs & CCPs.ให้คำแนะนำในการ
ออกแบบระบบงานและจัดเตรียมเอกสาร ที่เกี่ยวข้องและจำเป็น เช่น
- นโยบายและวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยอาหาร
- คู่มือคุณภาพ (Quality Manual)
- ระเบียบปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อสถานกาณ์ฉุกเฉิน
- เอกสารการประเมิน Food defense
- การทดสอบ Mock recall
Stage 3 - Implementation ISO 22000: 2018 by organization
Stage 4 - อบรมหลักสูตร การตรวจติดตามคุณภาพภายในระบบ ISO 22000: 2018
- อบรมให้เป็นผู้ตรวจประเมิน (Auditor) พร้อมแต่งตั้งทีม Auditor เพื่อวางแผนในการตรวจประเมินระบบบริหาร
คุณภาพ โดยใช้เทคนิคการตรวจแบบเข้าถึงกระบวนการ (Process approach)
Stage 8 - ที่ปรึกษาเข้าร่วมดำเนินการตรวจติดตามภายในกับองค์กรเพื่อประเมินความสอดคล้องของระบบบริหารคุณภาพแนะนำ
แก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
- ให้คำแนะนำในการนำเอาเอกสารที่จัดทำไปปฏิบัติและทำการให้คำแนะนำในการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบในการตรวจ
ติดตามคุณภาพภายใน
Stage 9 - ดำเนินการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร(Management Review)
Stage10 - Pre audit โดยที่ปรึกษา เพื่อตรวจสอบภาพรวมของการทำระบบ และตรวจหาจุดบกพร่องของระบบที่ต้องปรับปรุง
ดำเนินการตรวจประเมินโดย C.B. ที่ท่านเลือก
ที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก้ไขข้อบกพร่องระหว่างและหลังการตรวจประเมินจากหน่วยงานรับรอง
“HACCP” ย่อมาจาก “Hazard Analysis Critical Control Point” คือระบบสำหรับบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล อ้างอิงจากเอกสาร “Recommended International Code of Practice General Principles of Food Hygiene (CAC/RCP 1-1969, Rev.4-2003)” ตามข้อกําหนดของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/ WHO (Codex Alimentarius Commission) มุ่งเน้นถึงการวิเคราะห์อันตรายและหาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ออกแบบมาเพื่อควบคุมอันตรายทางด้านอาหาร (Food Hazard) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต โดยประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนเริ่มต้น (Preliminary Steps) และหลัก 7 ประการ (Principle)
5 ขั้นตอนเริ่มต้น (Preliminary Steps) เมื่อนำระบบ HACCP ไปประยุกต์ใช้
ขั้นตอนที่ 1: จัดตั้งทีมงาน HACCP (Assemble the HACCP Team)
ขั้นตอนที่ 2: กำหนดรายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Describe the product)
ขั้นตอนที่ 3: ระบุวิธีการนำไปใช้ (Describe intended use)
ขั้นตอนที่ 4: จัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต (Develop a flow diagram)
ขั้นตอนที่ 5: ทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิการผลิต (Verify the flow diagram)
หลัก 7 ประการ (Prin
“HACCP” ย่อมาจาก “Hazard Analysis Critical Control Point” คือระบบสำหรับบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล อ้างอิงจากเอกสาร “Recommended International Code of Practice General Principles of Food Hygiene (CAC/RCP 1-1969, Rev.4-2003)” ตามข้อกําหนดของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/ WHO (Codex Alimentarius Commission) มุ่งเน้นถึงการวิเคราะห์อันตรายและหาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ออกแบบมาเพื่อควบคุมอันตรายทางด้านอาหาร (Food Hazard) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต โดยประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนเริ่มต้น (Preliminary Steps) และหลัก 7 ประการ (Principle)
5 ขั้นตอนเริ่มต้น (Preliminary Steps) เมื่อนำระบบ HACCP ไปประยุกต์ใช้
ขั้นตอนที่ 1: จัดตั้งทีมงาน HACCP (Assemble the HACCP Team)
ขั้นตอนที่ 2: กำหนดรายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Describe the product)
ขั้นตอนที่ 3: ระบุวิธีการนำไปใช้ (Describe intended use)
ขั้นตอนที่ 4: จัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต (Develop a flow diagram)
ขั้นตอนที่ 5: ทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิการผลิต (Verify the flow diagram)
หลัก 7 ประการ (Principle) ประกอบด้วย
หลักการที่ 1 (ขั้นตอนที่ 6): วิเคราะห์อันตราย (Conduct a hazard analysis)
หลักการที่ 2 (ขั้นตอนที่ 7): กำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
(Determine the critical control points, CCPs)
หลักการที่ 3 (ขั้นตอนที่ 8): กำหนดค่าวิกฤต (Establish critical limits)
หลักการที่ 4 (ขั้นตอนที่ 9): การเฝ้าระวัง (Establish monitoring procedures)
หลักการที่ 5 (ขั้นตอนที่ 10): การแก้ไขเมื่อมีความเบี่ยงเบน (Establish corrective actions)
หลักการที่ 6 (ขั้นตอนที่ 11): การทวนสอบระบบ (Establish verification procedures)
หลักการที่ 7 (ขั้นตอนที่ 12): การจัดทำเอกสาร/บันทึก
(Establish record-keeping and documentation procedures
รายละเอียดของขั้นตอนเริ่มต้นและหลักการมีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1: จัดตั้งทีมงาน HACCP (Assemble the HACCP Team)
ขั้นตอนที่ 2: กำหนดรายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Describe the product)
คือ การอธิบายข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบและวิธีการผลิต รวมถึงสภาวะการขนส่งและกระจายสินค้า เช่น แช่เย็น แช่แข็ง อุณหภูมิห้อง เป็นต้น
ตัวอย่าง การกำหนดรายละเอียดผลิตภัณฑ์
ชื่อผลิตภัณฑ์ |
ระบุชื่อผลิตภัณฑ์ตามขอบข่ายที่จัดทำระบบ HACCP |
คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ |
|
ลักษณะการใช้ผลิตภัณฑ์ |
ระบุวิธีการบริโภคผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค เช่น นำไปผ่านความร้อนก่อนการบริโภค บริโภคได้ทันที เป็นต้น |
ภาชนะบรรจุ |
ระบุชนิดของภาชนะบรรจุที่ใช้และสภาวะการบรรจุ เช่น บรรจุแบบสุญญากาศ เติมก๊าซไนโตรเจน รวมทั้งขนาดของภาชนะบรรจุ |
อายุการเก็บรักษา |
ระบุอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์และสภาวะการเก็บรักษา |
ลักษณะการจัดจำหน่าย |
ระบุแหล่งที่จัดจำหน่าย เช่นร้านค้าปลีก จำหน่ายต่างประเทศ เป็นต้น |
รายละเอียดที่ระบุบนฉลาก |
ระบุข้อมูลต่างๆ ที่แสดงบนฉลาก เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ รุ่นการผลิต |
การดูแลรักษาระหว่างการขนส่ง |
ระบุวิธีการจำเพาะที่จำเป็นต้องใช้เพื่อควบคุมสภาวะการขนส่ง เช่น การควบคุมอุณหภูมิ ปริมาณที่สามารถซ้อนทับกันได้ เป็นต้น |
วัตถุประสงค์ในการใช้งาน |
ระบุกลุ่มผู้บริโภค เช่นผู้บริโภคทั่วไป โรงงานอุตสาหกรรม |
ขั้นตอนที่ 3: ระบุวิธีการนำไปใช้ (Describe intended use)
ระบุวิธีการใช้หรือบริโภคสินค้าและกลุ่มผู้บริโภคให้ชัดเจน เช่น ทารก ผู้สูงอายุ ผู้แพ้สารอาหาร เป็นต้น รวมถึงระบุวิธีการนำไปใช้เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะไม่นำไปใช้ผิดวิธี พร้อมทั้งระบุคำเตือนหรือข้อแนะนำในการจัดเตรียมก่อนอุปโภค บริโภค
ตัวอย่าง การระบุวิธีนำไปใช้และการระบุข้อมูลบนฉลาก
ชื่อผลิตภัณฑ์ |
น้ำนมโคพาสเจอร์ไรส์ |
ลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์
|
|
ลักษณะการใช้ผลิตภัณฑ์ |
พร้อมบริโภค |
ภาชนะบรรจุ / ลักษณะการบรรจุ |
|
อายุการเก็บรักษา |
10 วัน |
ลักษณะการจำหน่าย |
ภายในประเทศ, ผ่านตัวแทนจำหน่าย, ซุปเปอร์มาร์เก็ต, สถานศึกษา |
ข้อแนะนำบนฉลาก |
|
การดูแลรักษาระหว่างการขนส่ง |
|
กลุ่มผู้บริโภค
|
ผู้บริโภคทั่วไป / ผู้บริโภคมุสลิม ยกเว้นกลุ่มผู้บริโภคที่แพ้อาหาร กลุ่มนม |
ขั้นตอนที่ 4: จัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต (Develop a flow diagram)
ขั้นตอนที่ 5: ทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิการผลิต (Verify the flow diagram)
หลักการที่ 1 (ขั้นตอนที่ 6): วิเคราะห์อันตราย (Conduct a hazard analysis)
เมื่อดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนเริ่มต้นแล้ว ต่อไปคือการวิเคราะห์อันตรายซึ่งถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลถึงประสิทธิภาพโดยรวมของแผน HACCP
ซึ่งอันตรายแต่ละชนิดดังกล่าว มีแหล่งที่มาและวิธีการควบคุมดังนี้
การปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น
ตัวอย่างมาตรการควบคุมอันตรายชีวภาพ
การปนเปื้อนจากจากอันตรายทางเคมี เช่น
ปุ๋ย,ฮอร์โมน,ยาปฏิชีวนะ
ตัวอย่างมาตรการควบคุมอันตรายทางเคมี
การปนเปื้อนจากจากอันตรายทางกายภาพ เช่น
ตัวอย่างมาตรการควบคุมอันตรายทางกายภาพ เช่น
นอกจากอันตรายทั้ง 3 ด้านแล้วยังมีอันตรายจากสารก่อภูมิแพ้ (Allergens) ซึ่งต้องนำมาวิเคราะห์เช่นกัน(บางครั้งสารก่อภูมิแพ้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอันตรายทางเคมี)
Allergens หมายถึงสารก่อภูมิแพ้ สารอาหาร ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ มักเป็นสารอาหารประเภทโปรตีนที่ทนต่อความร้อน ทนต่อการย่อยในระบบทางเดินอาหาร เช่น การย่อยด้วยกรดในกระเพาะอาหาร และเอนไซม์ในลำไส้เล็ก
แหล่งข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อการวิเคราะห์อันตราย เช่น
หลักการที่ 2 (ขั้นตอนที่ 7): กำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Determine the critical control points, CCPs)
หลักการที่ 3 (ขั้นตอนที่ 8): กำหนดค่าวิกฤต (Establish critical limits)
หลักการที่ 4 (ขั้นตอนที่ 9): การเฝ้าระวัง (Establish monitoring procedures)
หลักการที่ 5 (ขั้นตอนที่ 10): การแก้ไขเมื่อมีความเบี่ยงเบน (Establish corrective actions)
หลักการที่ 6 (ขั้นตอนที่ 11): การทวนสอบระบบ (Establish verification procedures)
หลักการที่ 7 (ขั้นตอนที่ 12): การจัดทำเอกสาร/บันทึก (Establish record-keeping and documentation procedures)
Corrective Action Procedure
เพื่อคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของระบบ HACCP ควรมีการทบทวนกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงแผน HACCP ต้องเป็นปัจจุบันและได้รับการแก้ไขเมื่อจำเป็น นอกจากนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรได้รับการอบรมเพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน Codex ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวและออกเอกสารฉบับร่างซึ่งเรียกกันแบบสั้น ๆ ว่า “GHP Rev.5” [PROPOSED DRAFT REVISION OF THE GENERAL PRINCIPLES OF FOOD HYGIENE (CXC 1-1969) GENERAL PRINCIPLES OF FOOD HYGIENE: GOOD HYGIENE PRACTICES (GHPs) AND THE HAZARD ANALYSIS AND CRITICAL CONTROL POINT (HACCP) SYSTEM (At Step 5/8)] ซึ่งเบื้องต้นมีการปรับเปลี่ยนพอสมควรเพื่อให้ทันกับปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารในปัจจุบัน…เตรียมตัวให้พร้อมและติดตามกันต่อไป
**************************
Master plan for consultant and implementation for GMP/HACCP system
Stage 1 - อบรมหลักสูตร การประยุกต์ใช้ระบบ และการตรวจติดตามภายในระบบ GMP/HACCP
Stage 2 - ตรวจสอบพื้นที่โรงงาน ยืนยันขอบเขตขอการรับรองของกระบวนการและผลิตภัณฑ์
- จัดทำมาตรการควบคุมและป้องกันการปนเปื้อนอันตรายตามหลักการ GMP ที่ต้องประยุกต์ใช้ เช่น
• Raw material incoming procedure
• Water control procedure
• Recall procedure
• Cleaning Program
• Glass & Hard Plastic Control procedure
• Chemical Control procedure
• Pest control procedure
• Personal hygiene procedure
• Transportation procedure
• Training procedure
- จัดทำเอกสารและบันทึก ตามหลักการ HACCP 12 ขั้นตอน
- วิเคราะห์หา จุด CCP และจัดทำแผนเฝ้าตรวจระวังและบันทึกการตรวจที่จุด CCP
Stage 3 - องค์กรดำเนินการใช้ระบบเอกสารและบันทึกตามที่กำหนด ในเอกสาร GMP/HACCP
- จัดทำ Validation and Verification process & products.
Stage 4 - ที่ปรึกษาเข้าร่วมดำเนินการตรวจติดตามภายในกับองค์กรเพื่อประเมินความสอดคล้องของระบบบริหารคุณภาพแนะนำแก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
- ให้คำแนะนำในการนำเอาเอกสารที่จัดทำไปปฏิบัติและทำการให้คำแนะนำในการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบในการตรวจติดตามคุณภาพภายในดำเนินการ
ตรวจประเมินโดย C.B. ที่ท่านเลือก
ที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก้ไขข้อบกพร่องระหว่างและหลังการตรวจประเมินจากหน่วยงาน
GMP คืออะไร?
“GMP” ย่อมาจาก “Good Manufacturing Practice” หมายถึง หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งถือเป็นระบบประกันคุณภาพระดับพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ โดยออกแบบมาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
GMP สากลของ Codex มีหลักเกณฑ์ข้อกำหนดทั้งหมด 10 หัวข้อ (CAC/RCP 1-1969 Rev.4) สำหรับประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ประยุกต์หลักเกณฑ์ของ GMP Codex เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของผู้ประกอบการในประเทศไทยและบังคับใช้เป็นกฎหมายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 ซึ่งมีหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 หัวข้อ
กล่าวได้ว่า GMP นอกจากจะถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานที่สามารถผลักดันให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SME พัฒนาไปสู่มาตรฐานอื่นๆ ที่สูงขึ้น เช่น HACCP, ISO9001, BRC , ISO22000, FSSC22000 เป็นต้น
-----------------------------------------------------------
หลักเกณฑ์ข้อแนะนำของ GMP Codex (CAC/RCP 1-1969 Rev.4) เปรียบเทียบกับ GMP ตามประกาศฯ ฉบับที่ 193 พ.ศ.2543
GMP Codex (CAC/RCP 1-1969), มอก.34-2546 |
GMP (ประกาศฯ ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 |
1 วัตถุประสงค์ |
- |
2 ขอบข่าย การนำไปใช้และนิยาม 2.1 ขอบข่าย 2.1.1 ห่วงโซ่อาหาร 2.1.2 บทบาทของภาครัฐ อุตสาหกรรม และผู้บริโภค 2.2 การใช้ 2.3 นิยามศัพท์ |
- |
3 การผลิตเบื้องต้น การผลิตเบื้องต้น ควรมีการจัดการที่ทำให้มั่นใจว่าอาหารมีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการนำไปใช้ตามประโยชน์ที่ตั้งใจกรณีที่จำเป็น ซึ่งรวมถึง
เหตุผล: เพื่อลดโอกาสที่จะก่อให้เกิดอันตรายที่อาจจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของอาหาร หรือความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไปของห่วงโซ่อาหาร 3.1 สุขลักษณะของสภาพแวดล้อม 3.2 การผลิตอย่างถูกสุขลักษณะของแหล่งอาหาร 3.3 การปฏิบัติติต่ออาหาร การเก็บรักษาและการขนส่ง 3.4 การทำความสะอาด การบำรุงรักษา และสุขอนามัยส่วนบุคคลในการผลิตขั้นต้น |
-
|
4 สถานประกอบการ: การออกแบบและสิ่งอำนาวยความสะดวก ตัวอาคารสถานที่ผลิต เครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ควรมีที่ตั้งหรือจัดวาง ออกแบบและสร้างให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แน่ใจว่า
เหตุผล: การเอาใจใส่ต่อการออกแบบและก่อสร้างอย่างถูกสุขลักษณะ มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมและมีการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกไว้อย่างพอเพียง เป็นสิ่งจำเป็นต่อการควบคุมอันตรายได้อย่างมีประสิทธิผล 4.1 ทำเลที่ตั้ง 4.1.1 สถานที่ประกอบการ 4.1.2 เครื่องมือ 4.2 อาคารสถานประกอบการและห้อง 4.2.1 การออกแบบและวางผัง 4.2.2 โครงสร้างภายในและส่วนประกอบ 4.2.3 สิ่งปลูกสร้างชั่วคราว/เคลื่อนย้ายได้ และเครื่องจำหน่าย 4.3 เครื่องมือ 4.3.1 บททั่วไป 4.3.2 การควบคุมอาหารและเครื่องมือ 4.3.3 ภาชนะใส่ของเสียและสารที่บริโภคไม่ได้ 4.4 สิ่งอำนวยความสะดวก 4.4.1 น้ำใช้ 4.4.2 การระบายน้ำ และการขจัดของเสีย 4.4.3 การทำความสะอาด 4.4.4 สิ่งอำนวยความสะอาด ด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล และห้อง 4.4.5 การควบคุมอุณหภูมิ 4.4.6 คุณภาพอากาศ และการระบายอากาศ 4.4.7 แสงสว่าง 4.4.8 การเก็บรักษา |
1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
|
เพื่อผลิตอาหารให้ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับการบริโภคโดย
เหตุผล: เพื่อลดความเสี่ยงจากอาหารที่ไม่ปลอดภัย โดยใช้มาตรการการป้องกัน เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยและความเหมาะสมของอาหาร โดยการควบคุมอันตรายจากอาหารในขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม 5.1 การควบคุมอันตรายของอาหาร 5.2 จุดสำคัญของระบบการควบคุมสุขลักษณะ 5.2.1 การควบคุมอุณหภูมิและเวลา 5.2.2 ขั้นตอนเฉพาะของกระบวนการแปรรูป 5.2.3 ข้อกำหนดเฉพาะด้านจุลินทรีย์ และอื่นๆ 5.2.4 การปนเปื้อนทางกายภาพและเคมี 5.3 ข้อกำหนดการรับวัสดุ 5.4 การบรรจุหีบห่อ 5.5 น้ำ 5.5.1 น้ำที่สัมผัสกับอาหาร 5.5.2 น้ำที่ใช้เป็นส่วนประกอบ 5.5.3 น้ำแข็งและไอน้ำ 5.6 การจัดการและการควบคุมดูแล 5.7 เอกสารและการบันทึกข้อมูล 5.8 ขั้นตอนการเรียกคืน |
โดยให้เก็บบันทึกและรายงานไว้อย่างน้อย 2 ปี
|
จัดทำระบบที่มีประสิทธิผลเพื่อ
เหตุผล: เพื่อเอื้ออำนวยให้การควบคุมอันตรายที่จะเกิดกับอาหาร การควบคุมสัตว์รบกวน และสารอื่นที่จะปนเปื้อนอาหารเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล 6.1 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด 6.1.1 บททั่วไป 6.1.2 ขั้นตอนและวิธีการทำความสะอาด 6.2 โปรแกรมการทำความสะอาด 6.3 ระบบการควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ 6.3.1 บททั่วไป 6.3.2 การป้องกันการเข้ามาในอาคาร 6.3.3 ที่พักและการเข้าอยู่อาศัย 6.3.4 การตรวจสอบและการเฝ้าระวัง 6.3.5 การกำจัด 6.4 การจัดการกับของเสีย 6.5 ประสิทธิผลของการตรวจสอบเฝ้าระวัง |
|
7 สถานประกอบการ: สุขลักษณะส่วนบุคคล เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่จะสัมผัสกับอาหารทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจะไม่ทำให้อาหารปนเปื้อนโดย
เหตุผล: ผู้ที่ไม่รักษาความสะอาดส่วนบุคคลไว้ในระดับที่เหมาะสม ผู้เจ๊บป่วยหรือปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารและทำให้ผู้บริโภคเกิดการเจ็บป่วยได้ 7.1 สุขภาพ 7.2 การเจ็บป่วยและบาดเจ็บ 7.3 ความสะอาดส่วนบุคคล 7.4 อุปนิสัยส่วนบุคคล 7.5 ผู้เยี่ยมชม |
6 บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
|
8 การขนส่ง ในกรณีที่จำเป็น ควรมรมาตรการเพื่อ
เหตุผล: อาหารอาจถูกปนเปื้อนได้ หรือถึงปลายทางในสภาพไม่เหมาะสมสำหรับบริโภคได้ ถ้าหากไม่มีมาตรการการควบคุมที่มีประสิทธิภาพในการขนสส่ง แม้ว่าจะมาตรการควบคุมสุขอนามัยอย่างพอเพียงในขั้นตอนก่อนหน้านี้ในลูกโซ่อาหารแล้วก็ตาม 8.1 บททั่วไป 8.2 ข้อกำหนด 8.3 การใช้และการดูแลรักษา |
-
|
9 ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ ควรมีการแสดงข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่า
และผู้บริโภคควรมีความรู้เพียงพอที่จะ
ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือการค้าควรแตกต่างจากข้อมูลสำหรับผู้บริโภคอย่างชัดเจนโดยเฉพาะบนฉลากอาหาร เหตุผล: ข้อมูลผลิตภภัณฑ์ที่ไม่เพียงพอ และ/หรือการมีความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะทั่วไปของอาหารไม่เพียงพอสามารถนำไปสู้การปฏิบัติต่อผลิตภัณฑ์อย่างไม่ถูกต้องในขั้นตอนถัดไปในลูกโซ่อาหาร การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องนี้ สามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วย หรือทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสมต่อการบริโภคแม้ว่าได้มีมาตรการควบคุมสุขลักษณะอย่างเพียงพอในขั้นตอนก่อนหน้านี้ในลูกโซ่อาหารแล้วก็ตาม 9.1 การกำหนดรุ่นผลิตภัณฑ์ 9.2 ข้อมูลผลิตภัณฑ์ 9.3 การระบุฉลาก 9.4 การให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
|
- |
10 การฝึกอบรม ผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารที่สัมผัสอาหารโดยตรงหรือโดยทางอ้อม ควรได้รับการฝึกอบรมและ/หรือ แนะนำในเรื่องสุขลักษณธอาหารในระดับที่เหมาะสมต่องานที่ต้องปฏิบัติ เหตุผล: การฝึกอบรมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อระบบสุขลักษณะอาหาร การให้การอบรมด้านสุขลักษณะและ/หรือการให้คำแนะนำและกำกับดูแลที่ไม่เพียงพอแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอาหารจะทำให้เกิดผลเสียต่อความปลอดภัยของอาหารและความเหมาะสมต่อการบริโภค 10.1 จิตสำนึกและความรับผิดชอบ 10.2 โปรแกรมการฝึกอบรม 10.3 การแนะนำและตรวจดูแล 10.4 การฝึกอบรมเพื่อฟื้นความรู้ |
|
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน Codex ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวและออกเอกสารฉบับร่างซึ่งเรียกกันแบบสั้น ๆ ว่า “GHP Rev.5” [PROPOSED DRAFT REVISION OF THE GENERAL PRINCIPLES OF FOOD HYGIENE (CXC 1-1969) GENERAL PRINCIPLES OF FOOD HYGIENE: GOOD HYGIENE PRACTICES (GHPs) AND THE HAZARD ANALYSIS AND CRITICAL CONTROL POINT (HACCP) SYSTEM (At Step 5/8)] ซึ่งเบื้องต้นมีการปรับเปลี่ยนพอสมควรเพื่อให้ทันกับปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารในปัจจุบัน...เตรียมตัวให้พร้อมและติดตามกันต่อไป
************************************
Master plan for consultant and implementation for GMP/HACCP system
Stage 1 - อบรมหลักสูตร การประยุกต์ใช้ระบบ และการตรวจติดตามภายในระบบ GMP/HACCP
Stage 2 - ตรวจสอบพื้นที่โรงงาน ยืนยันขอบเขตขอการรับรองของกระบวนการและผลิตภัณฑ์
- จัดทำมาตรการควบคุมและป้องกันการปนเปื้อนอันตรายตามหลักการ GMP ที่ต้องประยุกต์ใช้ เช่น
• Raw material incoming procedure
• Water control procedure
• Recall procedure
• Cleaning Program
• Glass & Hard Plastic Control procedure
• Chemical Control procedure
• Pest control procedure
• Personal hygiene procedure
• Transportation procedure
• Training procedure
- จัดทำเอกสารและบันทึก ตามหลักการ HACCP 12 ขั้นตอน
- วิเคราะห์หา จุด CCP และจัดทำแผนเฝ้าตรวจระวังและบันทึกการตรวจที่จุด CCP
Stage 3 - องค์กรดำเนินการใช้ระบบเอกสารและบันทึกตามที่กำหนด ในเอกสาร GMP/HACCP
- จัดทำ Validation and Verification process & products.
Stage 4 - ที่ปรึกษาเข้าร่วมดำเนินการตรวจติดตามภายในกับองค์กรเพื่อประเมินความสอดคล้องของระบบบริหารคุณภาพแนะนำแก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน
- ให้คำแนะนำในการนำเอาเอกสารที่จัดทำไปปฏิบัติและทำการให้คำแนะนำในการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบในการตรวจติดตามคุณภาพภายในดำเนินการ
ตรวจประเมินโดย C.B. ที่ท่านเลือก
ที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก้ไขข้อบกพร่องระหว่างและหลังการตรวจประเมินจากหน่วยงาน